A Brief History of Supreme— King of Street Fashion

เปิดตำนาน Supreme แบรนด์ตัวตึงแห่งวงการสตรีทแฟชั่น

25/06/2023

...

Supreme หรือ ซูพรีม คือแบรนด์สตรีทแวร์แฟชั่นชื่อดังจากนิวยอร์กที่เคยโด่งดังมากเป็นพีคไทม์อยู่ช่วงหนึ่งและกลับมาบูมอีกครั้งเมื่อกีฬาเซิร์ฟสเก็ตหรือสเก็ตบอร์ดเป็นที่นิยมมากขึ้น เรียกง่ายๆ ว่าแบรนด์ Supreme นั้นเป็นภาพจำและความใฝ่ฝันของชาวสตรีทแวร์เลยทีเดียว เพราะปัจจุบัน Supreme ก้าวเข้าสู่สถานะแบรนด์ดังระดับโลกด้วยมูลค่ามากกว่า 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ถือว่าเป็นแบรนด์สตรีทแวร์เพียงไม่กี่แบรนด์ที่โด่งดังและสามารถทำให้แบรนด์เนมลักชัวรี่ทั้งหลายอยากจะ Collabration ด้วยมากที่สุด ทำให้ Supreme มีฐานแฟนคลับสายสตรีทอยู่ทั่วโลกและเฝ้ารอคอลเลกชันใหม่ๆ อย่างใจจดใจจ่อ แต่ความสำเร็จนี้ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเพราะ Supreme นั้นเริ่มต้นมาด้วยการเป็นเพียงแบรนด์สตรีทแวร์เล็กๆ แต่เพราะอะไรถึงทำให้ Supreme ประสบความสำเร็จได้นั้น วันนี้ SASOM ได้รวบรวมสิ่งที่น่าสนใจของแบรนด์นี้มาให้ฟังกันจะเป็นอย่างไรนั้นตามมาอ่านกันได้เลย…

...
ความหลงใหลสเก็ตบอร์ดสู่เส้นทางกำเนิด Supreme

จุดเริ่มต้นของ Supreme นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1983 โดย James Jebbia ดีไซเนอร์ชาวอังกฤษที่มาทำงานในนครนิวยอร์กและเริ่มเปิดแผงร้านขายเสื้อผ้ากระเป๋าแนวสตรีทวินเทจที่ตลาด Flea market บนถนน Spring Street ของเมือง Manhattan ร่วมกับงานประจำในร้านเสื้อผ้าที่มีชื่อว่า Parachute ควบคู่ไปด้วยในเวลาเดียวกัน จนกระทั่งและตัดสินใจมาออกงานมาทำแบรนด์ของตัวเองมีชื่อว่า “Undefeated” กับเพื่อนคนสนิทอย่าง Eddie จนโด่งดังและอิ่มตัวเวลาผ่านมานาน James ได้ค้นหาตัวเองในการทำงานไปเรื่อยๆ จนเจอตึกว่างแห่งหนึ่งและมีราคาเช่าที่ถูกเป็นทำเลที่กว้างและเงียบประมาณหนึ่งเป็นจุดที่นักเล่นสเก็ตบอร์ดชื่นชอบและนัดพบปะเพื่อเล่นกีฬาชนิดนี้ จึงทำให้ James ได้มีโอกาสคลุกคลีกับวงการสตรีทแฟชั่นจากเหล่าสเก็ตเตอร์ทั้งหลาย จึงเป็นที่มาและแรงบันดาลใจในการทำ “แบรนด์ Supreme” ที่เป็นสินค้าสตรีทแฟชั่นที่มีกลิ่นอายของสเก็ตเตอร์แถมยังมีสินค้าที่เป็นไลฟ์สไตล์แนวสเก็ตบอร์ดมาวางขายด้วย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่น DNA ของแบรนด์ Supreme นั่นเอง

...
Supreme โลโก้ทรงพลังสุดไอคอนนิก

แน่นอนว่าหากพูดถึงแบรนด์ Supreme ไม่มีใครนึกไม่ออกว่าสัญลักษณ์คืออะไรตอบได้อย่างว่องไวว่าตัวหนังสือสีขาวพื้นหลังสีแดง! เป็น Box Logo แสนสะดุดตาอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถทำให้ผู้คนจำจดแบรนด์ซูพรีมได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีที่มาและแรงบันดาลใจมาจากศิลปะแนว Propaganda Art ของศิลปิน Barbara Kruger เป็นการใช้ตัวอักษรวางพาดบนภาพโดยการใช้ตัวอีกษรสีขาววางบนพื้นหลังสีแดงหากใครเคยเห็นจะรู้เลยว่ามีความคล้ายโลโก้ของ Supreme เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นคำว่า Supreme ยังมีความหมายที่แปลเป็นไทยได้ว่า “อำนาจสูงสุด หรือ สำคัญที่สุด” โดยไม่ได้มีนัยยะซับซ้อนอะไร James กล่าวไว้ว่าฟังแล้วมันดูเท่และโดดเด่นดี ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นการการันตีแล้วว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นไปได้จริงๆ เพราะตอนนี้โลโก้ของ Supreme กลายเป็นโลโก้ทรงพลังที่สุดในวงการแบรนด์สตรีทแวร์เลยทีเดียว

...
Store Supreme เป็นคอมมูนิตี้ที่มากกว่าแบรนด์

เนื่องจาก James ได้คำนึงถึงลูกค้าชาวสเก็ตเตอร์เป็นหลัก เขาจึงออกแบบภายในตกแต่งร้านให้ตอบโจทย์กับลูกค้าของเขาด้วยเช่นกัน โดยให้มีพื้นที่บริเวณตรงกลางร้านเป็นที่โล่งและนำสินค้าไปจัดวางตรงบริเวณชิดผนังแทนเพื่อให้ลูกค้าสามารถไถสเก็ตบอร์ดเล่นบริเวณกลางร้านได้ แถมพนักงานของร้านเองก็เป็นสเก็ตเตอร์ James จึงทำกลยุทธ์ให้พนักงานสร้างทีมสเก็ตเพื่อโปรโมทเสื้อซูพรีม เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์สำหรับกีฬาสเก็ตบอร์ดของซูพรีมไปในตัว  นับว่าเอาใจสายสเก็ตเตอร์ไปเต็มๆ จนกลายเป็นคลับย่อมๆ ของวัยรุ่นสายสตรีทไปโดยปริยาย และที่เห็นๆ กันว่า Supreme ดังกระหึ่มขนาดนี้จะต้องมีสโตร์เยอะขนาดไหน แต่ไม่เลย! Supreme กลับมีสโตร์หรือหน้าร้านสแตนด์อโลนเพียง 14 สาขาทั่วโลกเท่านั้น ฟังแล้วคงอึ้งไปตามๆ กัน โดยจะมีสาขาที่อเมริกา 4 สาขาได้แก่ นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส บรูคลิน และซานฟรานซิสโก ในส่วนสาขาที่ยุโรปอีก 4 สาขาได้แก่ ปารีส ลอนดอน มิลาน และเบอร์ลิน และสุดท้ายในเอเชียมีอยู่เพียงประเทศเดียวที่มี Shop Supreme แต่กลับมีเยอะที่สุดถึง 6 สาขาได้แก่ ฮาราจูกุ ชิบูย่า นาโกย่า  ไดคังยามะ โอซาก้า และฟุกุโอกะ  เพราะ James ไม่ได้ต้องการขยายสาขาจนเกินความจำเป็นด้วยสินค้าที่ผลิตออกมาอย่างจำกัด ยิ่งหาซื้อและจับต้องยากมากเท่าไหร่ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น

...
ไม่อยู่ในกรอบ สินค้าแปลกแต่เตะตา

สินค้าล็อตแรกนั้นเป็นเพียงเสื้อยืด Supreme 3 ลาย คือ 1.Box Logo 2.Travis Bicker และ 3. Afro Skater เป็นอะไรที่แสนเบสิกแต่ตะโกนคำว่า Supreme ได้ดังและชัดมากจนขายดีเกินคาด หลังจากนั้นจึงได้ทยอยออกสินค้าที่แปลกใหม่นอกเหนือจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเพราะไม่อยากจำกัดว่าตัวเองเป็นแบรนด์สินค้าแค่อย่างใดอย่างหนึ่งจึงผลิต เก้าอี้ ไฟแช็ก แก้วน้ำ ถุงมือ หมวกกันน็อค ยาสีฟัน ยันเครื่องคิดเลข นับว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่สร้างเสียงฮือฮาเป็นกระแสได้เสมอ และถึงแม้ว่าสินค้าจะดูขายออกยากแต่จริงๆ แล้วขอบอกว่าขายคล่องสุดๆ

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ ในเรื่องที่น่าสนใจของแบรนด์ Supreme เท่านั้น ซึ่งเป็นแบรนด์สตรีทแวร์ที่ประสบความสำเร็จแบบฉุดไม่อยู่ไปสู่รันเวย์ไฮด์แฟชั่นได้ ในปัจจุบันแบรนด์ Supreme นั้นได้ถูกซื้อต่อโดย VF Group และมีทิศทางว่าจะเข้ามาต่อยอดทางการขายในเชิงออนไลน์มากยิ่งขึ้นโดยมี James Jebbia ผู้ก่อตั้งแบรนด์ดูแลภาพรวมต่อไป และคิดว่าเหล่าแฟชั่นนิสต้าสายสตรีทแวร์ทั้งหลายคงเฝ้ารอคอลเลกชันใหม่อย่างใจจดใจจ่อแล้ว หากใครที่สนใจอยากซื้อ Supreme แท้ สามารถเข้ามาช้อปกันได้เลยที่แอพลิเคชั่นสะสม SASOM แพลตฟอร์มซื้อขายไอเทมสตรีทแวร์ชั้นนำของประเทศไทย